ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๒.๑ การคมนาคม
ถนนในเขตเทศบาล มี ๑๗ สาย รวมความยาวทั้งสิ้น ๖.๐๐ กิโลเมตร แยกเป็นถนน
แอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน ๑๖ สาย ยาวประมาณ ๕.๕๐ กิโลเมตร ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๑ สาย
ยาวประมาณ ๐.๕ กิโลเมตร
การคมนาคมระหว่างอำเภอ-จังหวัดและจังหวัดอื่นๆ ใช้เส้นทางถนนสายพระพุทธบาท-
บ้านหมอ- ท่าเรือ,ถนนริมคลองชลประทานชัยนาท–ป่าสักซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินที่ตัดผ่านอำเภอและถนนใน
ความรับผิดชอบของกรมชลประทาน ตามลำดับ ระยะทางจากอำเภอบ้านหมอ ถึงจังหวัดสระบุรี ประมาณ
๓๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟสายเหนืออยู่ในพื้นที่เทศบาล
๒.๒ การประปา
เทศบาลตำบลบ้านหมออาศัยน้ำประปาจากสำนักงานประปาส่วนภูมิภาคบ้านหมอ
๒.๓ การไฟฟ้า
การบริการด้านไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลบ้านหมอ จากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒.๔ ไปรษณีย์โทรเลข
มีที่ทำการอยู่ ๑ แห่ง ไปรษณีย์โทรเลขบ้านหมอ
๒.๕ ตลาดสด
ตลาดสด มีจำนวน ๑ แห่ง เป็นของเอกชน
๒.๖ พาณิชยกรรม
พาณิชยกรรม ภายในเขตเทศบาลมีสถานประกอบธุรกิจการค้าเป็นจำนวนมา เช่น
การค้าส่ง การค้าปลีก มีอาคารพาณิชย์ร้านค้า จำนวน ๑๒๒ คูหา
๒.๗ การธนาคาร
การธนาคารในเขตเทศบาลมีธนาคารทั้งหมด ๒ ธนาคาร คือธนาคารออมสิน,
ธนาคารธนชาต
๒.๘ สวนสาธารณะ
สวนสาธารณะ มี ๔ แห่ง (หมู่ ๒, ๓,๕,๑๐)
๒.๙ การใช้ที่ดิน
มีการใช้ที่ดิน ๙๐% ของพื้นที่ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์
๓. ด้านเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ และขนาดย่อมอยู่ในท้องที่ใกล้เคียง รายได้ต่อหัวประชากร ประมาณ ๙,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ บาท/
เดือน
๔. ด้านสังคม
๑. ชุมชน มีจำนวน ๘ ชุมชน จำนวนบ้าน ๑,๓๒๓ หลังคาเรือน
๒. ศาสนามีวัดจำนวน ๑ แห่ง คือ วัดบ้านหมอ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๙.๕ ของจำนวน
ประชากรทั้งหมด และนับถือศาสนาอื่น ร้อยละ ๐.๕ ของจำนวนประชากรทั้งหมด
๓. วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ที่สำคัญ ได้แก่ ทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ใน วันที่ ๑ มกราคม
ทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้งพระสงฆ์ในเขตเทศบาลและใกล้เคียง ประเพณีสงกรานต์ในเดือนเมษายน
รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ สนุกสนานกับกิจกรรมภาคกลางคืน และประเพณีลอยกระทงในเดือนพฤศจิกายน
๔. การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๑ แห่ง สังกัดเทศบาล
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง (รัฐบาล ๑,เอกชน ๑)
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำนวน ๑ แห่ง
๕. กีฬา นันทนาการ/ผักผ่อน
- สนามกีฬาอเนกประสงค์ จำนวน ๒ แห่ง
- สนามตระกร้อ จำนวน ๑ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนและหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ จำนวน ๑ แห่ง
- สวนสาธารณะ จำนวน ๖ แห่ง
- สนามเด็กเล่น จำนวน ๔ แห่ง
- สถานที่ออกกำลังกายพร้อมเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง จำนวน ๑๒ แห่ง
๖. สาธารณสุข
- คลินิกเอกชน จำนวน ๑ แห่ง
๗. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๑. สถิติเพลิงไหม้ในรอบปี (๑ ม.ค.๕๘-๓๑ ธ.ค.๕๘ - ครั้ง ในและนอกเขตสามารถดับเพลิง
ช่วยเหลือ
๒. ไม่มีความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้ในรอบปีที่ผ่านมา
๓. รถยนต์ดับเพลิง จำนวน ๒ คัน
๔. รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน ๒ คัน
๕. รถกระเช้าไฟฟ้า จำนวน ๑ คัน
๖. เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม จำนวน ๑ เครื่อง
๗. รถดูดสิ่งปฏิกูลใช้ฉีดล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ จำนวน ๑ คัน
๘. สิ่งแวดล้อม
๑. แหล่งน้ำ
- หนอง บึง จำนวน ๑ แห่ง
- คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน ๒ แห่ง
๒. การระบายน้ำ
- พื้นที่นำท่วม คิดเป็นร้อยละ - ของพื้นที่ทั้งหมด
๓. น้ำเสีย
- ไม่มี
๔. ขยะ
- ปริมาณขยะ ๘ ตัน/วัน
- รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะ จำนวน ๒ คัน
การกำจัดขยะนำไปดำเนินการกำจัดกับ อบต.เมืองขีดขิน เนื่องจากเทศบาลตำบลบ้านหมอไม่มีที่
กำจัดขยะ
๕. ด้านการเมือง – การบริหาร
๕.๑ โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลบ้านหมอ ดังนี้
๕.๑.๑ ฝ่ายการเมือง แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
- ฝ่ายบริหาร แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี จำนวน ๑ คน
รองนายกเทศมนตรี จำนวน ๒ คน เลขานุการนายกเทศมนตรี จำนวน ๑ คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
จำนวน ๑ คน
- ฝ่ายนิติบัญญัติ เรียกว่า “สภาเทศบาลตำบล” ประกอบด้วย ประธานสภาเทศบาลตำบล
จำนวน ๑ คน รองประธานสภาเทศบาลตำบล จำนวน ๑ คน เลขานุการสภาเทศบาลตำบล จำนวน ๑ คน
และสมาชิกสภาเทศบาลตำบล จำนวน ๑๑ คน